Eco-Industry
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry)
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) หมาย
ถึง สถานประกอบการอุตสาหกรรมในระดับต่างๆ
ที่มีระบบอำนวยให้หน่วยกิจกรรมต่างๆ
ในองค์กรสามารถบรรลุถึงความสำเร็จอย่างยั่งยืน (sustainability) ร่วมกัน
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ (economy) และระบบนิเวศ (ecology)
โดยอาศัยการสร้างระบบความสัมพันธ์แบบพึ่งพาในเชิงวัสดุและพลังงาน
และจะต้องอาศัยการผูกโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจการที่มีความสอดคล้องกันใน
เชิงผลพลอยได้ของผลิตภัณฑ์
เป้าหมายร่วมของการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ
ของ สนช. คือ การให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก เช่น
สภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีสาเหตุจากปรากฏการณ์
เรือนกระจก (green house effect) และการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน
ที่เป็นกระแสหลักของประชาคมโลกปัจจุบัน
ดังนั้น เพื่อตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สนช. จึงได้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรมสะอาด (Clean Industry Platform) และด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Products Platform) นอกเหนือจากอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และธุรกิจนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ที่ได้ดำเนินการผลักดันจนเป็นโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของ สนช. แล้ว
ผลการดำเนินงานภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐ นิเวศในปีงบประมาณ 2553 คือ การสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 15 ราย ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 10,658,800 บาท ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 118,540,000 บาท โดยคาดว่าอีก 3 ปีข้างหน้าจะสามารถสร้างรายได้จำนวน 1,642.76 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่ จำนวน 421 คน
ในส่วนผลการดำเนินงานเด่นอื่นๆ ได้แก่
• การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
"โครงการนำร่องเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลในระดับชุมชน" ระหว่าง สนช.
ร่วมกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ผ่านสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน
ทั้งระดับต้นแบบและการขยายผลสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน
รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาสนับสนุนการดำเนินงานของ สนผ.
ในการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกจากสิ่งของเหลือใช้
ให้เกิดประโยชน์
และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการและบริษัทจัดการพลังงานในการจัดทำข้อเสนอ
โครงการต่อคณะทำงานโครงการฯ และ สนพ.
ในการพิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนแก่โครงการต่อไป
ผลการดำเนินงานภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศในปีงบประมาณ 2554 สนช. ได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ จำนวนทั้งสิ้น 38 โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 26,186,874 บาท ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 1,012,730,156 บาท
โดยผลการดำเนินงานเด่น ได้แก่
• โครงการนำร่องเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลในระดับชุมชน
ซึ่งได้คัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพในการดำเนินโครงการระบบผลิตไฟฟ้าได้
จำนวน 4 ระบบ และระบบผลิตความร้อนได้ จำนวน 8 ระบบ
โดยกำลังดำเนินการก่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพของระบบ นอกจากนี้ สนช.
อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงการนวัตกรรมในด้านธุรกิจชีวมวล
(Biomass Business Platform)
ซึ่งนับเป็นการต่อยอดและยกระดับผลการดำเนินโครงการนำร่องฯ ดังกล่าว
• ด้านอุตสาหกรรมสะอาด (Clean Industry Platform)
"อุตสาหกรรมสะอาด"
เป็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การบริการ
และการบริโภคอย่างต่อเนื่อง
เพื่อจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
และเปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด นอกจากนี้
ยังเน้นการลดการใช้สารเคมีอันตราย ลดของเสียและของเหลือใช้
รวมไปถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการดัดแปลงเพื่อ ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่น
จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไปพร้อมๆ กัน
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานทดแทนจากของเสีย (waste to energy)
การจัดการของเสียอย่างถูกวิธี (waste management)
รวมถึงอุปกรณ์และกระบวนการที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน (energy saving)
นอกจากนี้ สนช. ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน จัดทำ
"บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทน
ของไทย"
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี
และนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนของผู้ประกอบการไทย
ตลอดจนร่วมดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับต้นแบบเพื่อพัฒนา
เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนของประเทศ
สนช.
ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในด้านอุตสาหกรรมสะอาด
ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนจากของเสีย
การจัดการของเสียอย่างถูกวิธี
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก อาทิ แสงอาทิตย์ ลม
น้ำ เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์หรือกระบวนการที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน
ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
อีกทั้งในภาวะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ
อากาศ
การรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีสะอาดที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมจึงเปรียบเสมือน
เป็นการช่วย ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน นอกจากนี้
สนช. ยังได้ร่วมมือกับกลุ่มพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กลุ่มธุรกิจเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ
เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีและประเมินความเป็นไปได้ทาง
ธุรกิจของโครงการนวัตกรรมในกลุ่มเทคโนโลยีสะอาด
และผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม
ภายใต้
"บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทน
ของไทย" สนช.
ได้จัดทำโครงการการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลในระดับชุมชนด้วยเทคโนโลยีแก๊ส
ซิฟิเคชั่น เป็นโครงการนำร่อง จำนวน 11 แห่ง ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ
(subsidize) ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจจะซื้อหรือติดตั้งระบบ โดยแบ่งได้ 2
รูปแบบ คือ ระบบผลิตความร้อนทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) จำนวน 8 แห่ง
และโรงงานไฟฟ้าชีวมวลระดับชุมชน จำนวน 3 แห่ง
รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 46,215,240 บาท
ในปีงบประมาณ 2553
สนช. ได้ร่วมรังสรรค์โครงการนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 10
โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 9,014,300 บาท
ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 84,985,000 บาท อาทิ
• โครงการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากสิ่งปฎิกูล
• โครงการหลอดแก้วรับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์
• ครงการเครื่องรับซื้อขยะขวดพลาสติกรีไซเคิล
• โครงการต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำสำหรับชุมชน
เครือข่ายความร่วมมือ
• สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
• กลุ่มผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทน
ในปีงบประมาณ 2554 สนช.
ได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม จำนวนทั้งสิ้น 21 โครงการ
รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 16,361,285 บาท
ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 758,446,822 บาท อาทิ
• โครงการ “พี.เอส.เจ….ระบบควบคุมแสงสว่างและประหยัดพลังงาน”
• โครงการ “ทีที...เครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพสำหรับขยะชุมชน”
• โครงการ "C-TAX…ชุดกรองแบบบายพาสสำหรับยืดอายุน้ำมันหล่อลื่น”
• โครงการ “ระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์เพื่อผลิตพลังงานร่วม สำหรับผลิตไฟฟ้า ความร้อน และความเย็น”
• ด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Products Platform)
"ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม"
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ด้วย
การประเมินวัฎจักรชีวิต
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์
เทคโนโลยีการนำกลับมาใช้ใหม่ และการออกแบบเชิงเศรษฐนิเวศ
เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเชิง
เศรษฐกิจ
อันเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปใน
ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ และการกำจัดหลังการใช้งาน
เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต
สนช. ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลพลอยได้ในอุตสาหกรรมไม้ประกอบ
กระดาษ สิ่งทอ และยางพารา เป็นหลัก
เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
อันเป็นผลมาจากสภาพการขยายตัวของประชากรทั่วโลกในปัจจุบัน
ทำให้เกิดการบริโภคสินค้า บริการ และการประกอบกิจกรรมต่างๆ
ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม การขาดแคลนทรัพยากร
และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยเกินขีดจำกัด
ดังนั้น
การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นทางเลือกหลัก
ที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก
ในปีงบประมาณ 2553
สนช. ได้ร่วมรังสรรค์โครงการนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5
โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 1,644,500 บาท
ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 33,555,000 บาท ได้แก่
•โครงการ "Garmento" แผ่นบอร์ดและเฟอร์นิเจอร์จากเศษผ้า
•โครงการ "Hemp Thai" ผ้าทอเส้นใยกัญชงอินทรีย์แบบยกดอกสำเร็จรูป
•โครงการแคลเซียมคาร์บอเนตเคลือบแป้งเพื่อลดการใช้เยื่อในอุตสาหกรรมกระดาษ
•โครงการ "PEC-TEM" กระเบื้องมุงหลังคาเพื่อสิ่งแวดล้อม
•โครงการ "ธนิสร์"ขลุ่ยไทยแนวใหม่จากไม้ประกอบพลาสติก
ในปีงบประมาณ 2554 สนช. ได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม
จำนวนทั้งสิ้น 7 โครงการ รวมเป็นวงเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 3,290,589 บาท
ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุน 102,769,000 บาท อาทิ
• โครงการ “BMC จากขวดเพทที่ใช้แล้วสำหรับผลิตโคมไฟรถยนต์”
• โครงการ “ไบโอเฮมพ์ไทย...พื้นรองเท้ากัญชงจากวัสดุเหลือทิ้ง”
• โครงการ “JURA-STONE…กระเบื้องเซรามิกปูพื้นเพื่อสิ่งแวดล้อม”
• โครงการ “ระบบกำจัดมอดในของเล่นจากไม้ยางพาราด้วยคลื่นไมโครเวฟ”
• โครงการ “TOFFEN…พาเลทพลาสติกรีไซเคิลน้ำหนักเบาเพื่อการส่งออก”
Source: http://www.nia.or.th/?section=project&page=project_eco